วันพุธที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วัสดุและพัสดุหมายถึง

การพัสดุ
หมายถึง การซื้อ การจ้าง การจัดทำเอง การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบ การจ้างควบคุมงาน การจัดจ้างแบบเบ็ดเสร็จ การแลกเปลี่ยน การประกันภัย การเช่า การควบคุม การจำหน่าย การจำหน่ายเป็นสูญ การดำเนินการอื่น ๆ ที่กำหนดในระเบียบมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2542
พัสดุ หมายถึง วัสดุ ครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งก่อสร้าง

วัสดุ
หมายถึง สิ่งของซึ่งโดยสภาพย่อมสิ้นเปลือง เปลี่ยน หรือสลายตัวในระยะเวลาอันสั้น รวมทั้งสิ่งของที่หน่วยงานซื้อมาเพื่อการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สิน
สิ่งของซึ่งตามลักษณะปกติมีลักษณะคงทนถาวร และมีอายุการใช้งานยืนนาน แต่มีราคาหน่วยหนึ่งไม่เกิน 5,000.00 บาท (ตัวอย่างสิ่งของที่เป็นวัสดุตามภาคผนวก 19)

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การบ้านครั้งที่ 2

ระบบสารสนเทศในงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
1.ความหมายและวัตถุประสงค์ของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้าความหมาย สินค้าคงคลัง เป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องมีเพื่อการดำเนิน งาน และมีสภาพคล่องสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ไม่ลำบาก เช่น สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบเพื่อการผลิตงานระหว่างทำ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ การจัดหาสินค้าคงคลัง สามารถทำได้ 2 วิธีวิธีที่

1 สั่งผลิตหรือจัดซื้อมาจะทำได้กับธุรกิจที่ช่วงระยะเวลาส่งของให้ลูกค้านานพอที่จะไปดำเนินการจัดซื้อหรือผลิตได้วิธีที่
2 วางแผนจัดหาสินค้าคงคลังโดยพิจารณา จากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการวางแผนจัดเตรียมสินค้าคลังไว้ล่วงหน้าวัตถุประสงค์1. เพื่อให้การทำงานมีความยืดหยุ่น ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น2. เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย
1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
1.งานสินค้าคงคลัง ( Inventory )หมายถึง กระบวนการบริหารและควบคุมสินค้าที่สำรองไว้ให้มีปริมาณและมูลค่าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในธุรกิจ# มีจุดประสงค์หลักที่จะสำรองสินค้าอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอเสมอ สำหรับการเบิกจ่ายโดยปราศจากการขาดมือของสินค้า# มีเป้าหมายที่จะใช้ต้นทุนน้อยที่สุด ในการสำรองสินค้าและการดำเนินงานหากให้ ผลกำไรที่สูงสุดแก่ธุรกิจขององค์กร
2.งานคลังสินค้า (Warehousing) คือ กระบวนการเก็บ หยิบ ส่งสินค้า มีจุดประสงค์หลักที่จะบริหารและดำเนินธุรกิจในส่วนเกี่ยวข้องกับคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ
3.คลังสินค้า( Warehouse) คือ สถานที่ใช้เก็บสินค้าที่ผลิตออกมา/สำรองสินค้าที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะนำไปขาย/เบิกจ่ายหรือสำรองสินค้าไว้และเป็นจุดพักสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง (wholesale) หรือผู้ค้าปลีก (Retail outlets) แล้วแต่ละกรณีหรือบางกรณีก็สามารถใช้คำว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution center) แทนคลังสินค้ามีองประกอบสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจคลังสินค้า
1. โครงสร้างทางวิศวกรรมของอาคารสถานที่
2. อุปกรณ์ที่จำเป็น
3. บุคลากร
4. การขนส่งสินค้า
5. ระบบการส่งต่อเอกสารและการบันทึกบัญชีประจำวันประเภทของคลังสินค้า ตามลักษณะการครอบครองคลังสินค้าเอกชน Private Warehouse เป็นทรัพย์สินขององค์กรเจ้าของสินค้า Owner ซึ่งบริหารและการดำเนินการเองทั้งหมด เก็บเฉพาะสินค้าที่ต้องการคลังสินค้าสาธารณะ Public Warehouse เป็นคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจรับดำเนินการติดตั้งระบบการ คลังสินค้าให้กับหลายองค์กรมาใช้บริการ2 องค์ประกอบของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
1. สินค้าคงคลัง (Inventory Item)
2. ระดับที่เหมาะสมของสินค้าคงคลัง (Inventory Level)
3. จุดสั่งใหม่ (Reorder Point)
4. สินค้าทดแทน (Substituted Item)
5. สินค้าส่งคืน (Returned/reject Item)1. สินค้าคงคลัง (Inventory Item) คือ สินค้าที่องค์กรเก็บสำรองไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ แบ่งได้ 3 ประเภท1. )วัตถุดิบที่ใช้ป้อนกระบวนการผลิต (Raw goods)2. )สินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิต (Work in Process /WIP)3. )สินค้าคงคลังสำเร็จรูป (Finished Inventories)2. ระดับที่เหมาะสมของสินค้าคงคลัง (Inventory Level) คือ ปริมาณสินค้าคงคลังที่พอเหมาะกับกิจการขององค์กรโดยใช้ต้นทุนและปราศจากเหตุการณ์สินค้าไม่เพียงพอการเบิกจ่าย3. จุดสั่งใหม่ มี 3 ประเภท คือ3.1 ระบบปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด(Economic Order Quantity System : EOQ)3.2 ระบบรอบเวลาสั่งซื้อที่คงที่ (Fixed Interval System)3.3 ระบบจัสท์อินไทม์ (Just In Time : JIT)องค์ประกอบหลักของงานคลังสินค้า แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ1.) โครงสร้างของคลังสินค้า ( Warehouse Configuration)2.) เจ้าของสินค้า และ ผู้รับสินค้า (Owner)3. )สินค้า (Product) เช่น กลุ่ม (Group) และ กลุ่มย่อย (Sub-group) หน่วยนับ (Unit of Measurement : UOM )3 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง1.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้1.2 เตรียมเครื่องใช้สำนักงานที่เกี่ยวข้อง1.3 ข้อมูลทั่วไปในการสร้างแฟ้มข้อมูลหลัก1.4 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง1.5 วางแผนกระทำการติดตั้งระบบ1.6 กำหนดแผนการใช้งานคู่ขนาน2. การติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง2.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้2.2 สร้างแฟ้มข้อมูลหลัก2.3 บันทึกยอดยกมาของสินค้าแต่ละชนิด4 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศคลังสินค้า1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า
1.1 คลังสินค้า
1.2 เจ้าของสินค้า
1.3 สถานที่จัดส่ง
1.4 สินค้า
1.5 บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.6 วางแผนโครงการติดตั้งระบบ
1.7 ยอดยกมาของสินค้าคงเหลือ
2. การติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า ลักษณะเดียวกับสินค้าคงคลัง5 การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารระบบสารสนเทศ
1. เพื่อคุณภาพและความถูกต้องของการดำเนินการ
2. ลดเวลาในการดำเนินงาน
3. ลดค่าใช้จ่ายในการทำงานนอกเวลา
4. เพิ่มความสะดวกในการดำเนินงาน
5. เพิ่มภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์กร
5.1 การเลือกใช้โปรแกรมและผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ในระบบงานการเลือกใช้โปรแกรม
1. ความจำเป็นขององค์กร
2. งบประมาณ
3. ความสอดคล้องกับโครงสร้าง
4. การตอบสนองความต้องการของฝ่ายนโยบายและบริหารผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ในระบบงาน
1. ผลกระทบด้านธุรกิจขององค์กร
2. ผลกระทบด้านการส่งผ่านข้อมูล
3. ผลกระทบด้านการดำเนินงาน
4. ผลการทบด้านเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน
5. ผลกระทบด้านงบประมาณ6. ผลกระทบด้านองค์กร

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

โปรแกรมสำเร็จเกี่ยวกับคลังสินค้า





C6448756 โปรแกรมสำเร็จรูป เหมาะสำหรับธุรกิจงานบริการ ออกบิลใบกำกับภาษี ใบเสร็จ ใบเสนอราคา ใบสั่งซื้อ ให้ธุรกิจของคุณเป็นเรื่องง่าย แค่ปลายนิ้วค่ะ


โปรแกรมการจัดการธุรกิจ SMEs 1. สามารถนำรูปโลโก้ของบริษัทมาใช้เป็นหัวกระดาษได้ 2. จัดเก็บประวัติลูกค้า / ผู้จำหน่าย ในแต่ละรายได้ไม่จำกัดจำนวน ง่ายต่ดการค้นหา ไม่ซ้ำซ้อน 3. สามารถบันทึกรายการสำหรับออกใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีได้ 4. สามารถพิมพ์ใบส่งสินค้า / ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี ลงบนกระดาษ A4 หรือกระดาษต่อเนื่องได้ทันที 5. สามารถคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งแบบภาษีใน และภาษีนอกได้ต่างหาก 6. มีประวัติสรุปการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าในแต่ละราย 7. มีประวัติสรุปการสั่งซื้อสินค้ากับผู้จำหน่ายในแต่ละราย 8. ใช้ข้อมูลลูกค้าและข้อมูลสินค้าเดิม ได้โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลลูกค้าและสินค้าซ้ำซ้อน ( หากเคยมีการออกบิลมาก่อนแล้ว ) 9. สามารถดูรายงานยอดคงเหลือ ณ ปัจจุบัน และ Stock Card ได้ 10. สามารถดูรายการรับ-เบิก ประจำวัน เดือน ปี ได้ 11. มีโปรแกรมสำหรับการออกใบเสนอราคา และยังคัดแยกใบเสนอราคาที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ทำการสรุปและรวบรวมใบเสนอราคาให้ทั้ง ประจำวัน เดือน ปี ได้ 12. มีโปรแกรมสำหรับการออกใบสั่งซื้อสินค้า และยังคัดแยกใบสั่งซื้อสินค้าที่ผ่านการอนุมัติแล้ว ทำการสรุปและรวบรวมใบสั่งซื้อสินค้าให้ทั้ง ประจำวัน เดือน ปี ได้ 13. มีจุดสั่งซื้อให้กับสินค้าแต่ละรายการ และยังสามารถออกรายงานให้เมื่อสินค้าถึงจุดสั่งซื้อ 14. โปรแกรมจะออกใบวางบิลให้อัตโนมัติ เพียงคัดเลือกจากรายการที่มีการค้างจ่าย 15. สามารถนำเข้าและส่งออกไปยัง Microsoft Excel ได้ เพื่อทำรูปแบบได้ตามความต้องการ 16. ใช้ข้อมูลลูกค้าและสินค้าเก่า โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลซ้ำอีก ( หากเคยมีประวัติอยู่แล้ว ) 17. ลดขั้นตอนการทำงานแต่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับข้อมูลในการตัดสินใจ เช่น ประวัติการออกใบกำกับภาษีให้กับลูกค้า สามารถตรวจสอบได้ว่า เคยมีการออกเอกสารไปแล้วเมื่อไหร่ จำนวนเงินเท่าไหร่ ควรปรับเพิ่มส่วนลดให้กับลูกค้ารายนี้หรือไม่ ฯลฯ เหมาะสำหรับ ธุรกิจ เช่น - ทุกธุรกิจที่ต้องมีการทำธุรกรรมในการออกใบกำกับภาษี ทำให้คุณไม่ต้องพิมพ์ข้อมูลเดิมๆหลายๆครั้ง และยังสามารถเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ตลอดเวลา - สำหรับคลังสินค้าที่ควบคุมสินค้าและต้องการทราบถึงต้นทุนของสินค้า เช่น คลังวัสดุสิ้นเปลือง คลังร้านค้าปลีก คลังสหกรณ์โรงเรียน คลังสหกรณ์หมู่บ้าน หรือคลังสินค้านำเข้าและส่งออก - ผุ้ประกอบการธุรกิจ SMEs / OTOP หรือกิจการทั่วๆไป - ผู้ที่ต้องการระบบการจัดการเอกสารที่ดี เป็นมาตรฐานสากรและสามารถตรวจสอบได้ ง่ายต่อการทำงานและการนำเสนอ จุดเด่นของโปรแกรมคือ - มีเมนู 2 ภาษา ง่ายต่อการใช้งาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ - คู่มือเป็นไฟล์ Microsoft Word ให้ในแผ่น - ใช้งานง่าย สีสันสวยงาม - ไม่จำกัดเครื่องในการลงในแต่ละครั้ง สามารถลงโปรแกรมได้ตลอดอายุการใช้งาน - ไม่จำกัดจำนวนรายการ ในแต่ละเมนู ไม่มีวันหมดอายุ (ใช้งานได้แบบสบายใจค่ะ)

กฏหมายเกี่ยวกับคลังสินค้า



พ.ร.บ กฏหมาย
กฎหมาย ที่กำกับดูแล การเงินนอกระบบ ที่ผิดกฎหมาย ที่กลุ่มงานป้องปรามฯ รับผิดชอบ
1. พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ . ศ . 2527 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2545
2 พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ . 2527 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2534 และ พ.ศ. 2545 (ฉบับภาษาอังกฤษอย่างไม่เป็นทางการ)
3. พระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ . ศ . 2534
4. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการประสานงานการดำเนินคดีในความผิดตามกฎหมายการเงินการคลัง พ.ศ. 2546
5. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการอายัดทรัพย์สิน ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2538
6. ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการยึดทรัพย์สิน ตามมาตรา 8 แห่งพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2538

กฎหมาย ที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล การเงินนอกระบบที่ ผิดกฎหมาย
1.ประมวลกฎหมายอาญาในส่วนที่ว่าด้วยการฉ้อโกง
2.พระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475
3.พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485
4.พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542
5.พระราชบัญญิติว่าด้วยสินค้าและการบริการ พ.ศ. 2542
6.พระราชบัญญัติขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545





วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การบ้านครั้งที่1

1.คลังสินค้าหมายถึงอะไร
- คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่ที่ได้วางแผนแล้วเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการใช้สอยและการเคลื่อนย้ายสินค้าและวัตถุดิบ โดยคลังสินค้าทำหน้าที่ในการเก็บสินค้าระหว่างกระบวนการเคลื่อนย้ายเพื่อสนับสนุนการผลิตและการกระจายสินค้า ซึ่งสินค้าที่เก็บในคลังสินค้าสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
******1. วัตถุดิบ (Material) ซึ่งอยู่ในรูป วัตถุดิบ ส่วนประกอบและชิ้นส่วนต่างๆ
******2. สินค้าสำเร็จรูปหรือสินค้า จะนับรวมไปถึงงานระหว่างการผลิต ตลอดจนสินค้าที่ต้องการทิ้งและวัสดุที่นำมาใช้ใหม่

2.การจัดการคลังสินค้ามีการจัดการกับกิจกรรมใดบ้าง
- งานรับสินค้า (Goods Receipt) - การตรวจพิสูจน์ทราบ (Identify goods) - การตรวจแยกประเภท (Sorting goods) - งานจัดเก็บสินค้า (Put away) - งานดูแลรักษาสินค้า (Holding goods) - งานจัดส่งสินค้า (Dispatch goods) - การนำออกจากที่เก็บ (Picking) - การจัดส่ง (Shipping)

3.วัฒถุประสงค์ของการจัดการสินค้าเพื่ออะไร
*****1 ลดระยะทางในการปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายให้มากที่สุด *****2 การใช้พื้นที่และปริมาตรในการจัดเก็บให้เกิดประโยชน์สูงสุด *****3 สร้างความมั่นใจว่าแรงงาน เครื่องมือ อุปกรณ์ สาธารณูปโภคต่างๆ มีเพียงพอและสอดคล้อง กับระดับของธุรกิจที่ได้วางแผนไว้ *****4 สร้างความพึงพอใจในการทำงานในแต่ละวันแก่ผู้เกี่ยวข้องในการเคลื่อนย้ายสินค้า ทั้งการรับเข้าและการจ่ายออก โดยใช้ปริมาณจากการจัดซื้อ และความต้องการในการ จัดส่งให้แก่ลูกค้าเป็นเกณฑ์ *****5 สามารถวางแผนได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุม และรักษาระดับการใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้เกิดการบริการภายใต้ต้นทุนที่เกิดประสิทธิภาพคุ้มค่าในการลงทุนตามขนาดธุรกิจที่กำหนด

4.กิจกรรมหลักของคลังสินค้าและความสัมพันธ์กับกิจอื่นในการจัดการคลังสินค้ามีอะไรบ้าง
*****1 การคลังสินค้าและการผลิต การผลิตสินค้าจำนวนน้อยทำให้เกิดสินค้าคงคลังจำนวนน้อยลง ซึ่งทำให้ต้องการพื้นที่เก็บสินค้าจำนวนน้อย ทำให้ต้องมีการผลิตบ่อยครั้งซึ่งทำให้ต้นทุนการตั้งเครื่องจักร และต้นทุนการเปลี่ยนสายการผลิตสูง ในทางตรงกันข้ามถ้าผลิตสินค้าจำนวนมากทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด ซึ่งทำให้ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ แต่ทำให้เกิดสินค้าคงคลังจำนวนมากและต้องการพื้นที่ในการเก็บสินค้าจำนวนมาก ดังนั้นผู้บริหารจึงควรเปรียบเทียบระหว่างตันทุนการผลิตที่สามารถประหยัดได้ และต้นทุนสินค้าคงคลังที่เพิ่มขึ้นเพื่อทำให้ได้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด *****2 การคลังสินค้าและการขนส่ง คลังสินค้าจะรับวัตถุดิบจากผู้ขายปัจจัยการผลิตหลายรายการเพื่อรวบรวมเป็นขนาดการขนส่งใหญ่ขึ้นและส่งป้อนโรงงานการผลิตต่อไป ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาดการขนส่ง *****3 การคลังสินค้าและการให้บริการลูกค้า เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาวะทางการตลาดอย่างรวดเร็วส่งผลกระทบถึงการเก็บสินค้าในคลังสินค้าได้ ดังนั้นคลังสินค้าจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเก็บสินค้าส่วนเกินกว่าความต้องการลูกค้าไว้จำนวนหนึ่งสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้ในกรณีที่การผลิตมีปัญหาหรือการส่งมอบจากโรงงานล่าช้ากว่าผิดปกติ

5.Swot Analysis คืออะไรจงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างงานที่เกี่ยวกับระบบงานคลังสินค้า
- การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกองค์การ/ชุมชน (SWOT) เพื่อศึกษาแนวโน้มพัฒนาการขององค์การหรือชุมชน การสำรวจ เพื่อศึกษาความต้องการของชุมชน และความต้องการของชาวบ้านในชุมชน และนำมาสรุปเป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้ตรงและตอบสนองความต้องการของชุมชน การวิเคราะห์สภาพขององค์การเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาจะต้องมีการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ด้วย ซึ่งการวิเคราะห์ SWOT เป็นกาารจัดทำแผนกลยุทธ์วิธีหนึ่งซึ่งจะช่วยให้องค์การ หรือชุมชนได้ทราบถึงสถานภาพของตัวเอง อันจะทำให้สามารถกำหนดเป้าหมายได้อย่างถูกต้องและประสบความสำเร็จ โดยวิเคราะห์จากสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกขององค์การหรือชุมชนนั้น ๆ ใน 4 ประเด็น คือ
ปัจจัยภายในองค์การ S: Strength หมายถึง จุดแข็ง องค์การ/ชุมชนจะต้องมีการประเมินจุดแข็งของตนเอง ซึ่งเป็นปัจจัยภายใน หรือสิ่งที่องค์การ/ชุมชนมีอยู่เองแล้ว เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความสำเร็จขององค์การตนในมิติต่างๆ เช่น ทำเลที่ตั้ง สถานการณ์ทางการเงินการคลัง ความสามารถของบุคลากร ความเป็นทีม คุณภาพบริการ ประเพณีวัฒนธรรม แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ โดยประเมินจากระดับสูงไปหาระดับต่ำ แต่จุดแข็งในบางประเด็นก็อาจจะไม่ใช่ความสำคัญต่อความสำเร็จก็ได้ ต้องพิจารณาดูดี ๆ
W: Weakness หมายถึง จุดอ่อน องค์การหรือชุมชน จะต้องมีการประเมินจุดอ่อนของตนเอง เช่น ระเบียบกฎเกณฑ์ ขั้นตอนภายใน ที่ยุ่งยากซับซ้อน ระบบการตรวจสอบภายใน ความมุ่นมั่นของทีมงาน ชุมชนใหม่ คนในชุมชนมาจากหลากหลายแหล่ง ฯลฯ เพื่อพิจารณาเงื่อนไขแห่งความล้มเหลวขององค์การในมิติต่างๆ เช่นเดียวกับการประเมินจุดแข็ง โดยมีการประเมินจากระดับสูง (เป็นจุดอ่อนมาก) ไปหาระดับต่ำ (ไม่ค่อยเป็นจุดอ่อน) อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกันจุดอ่อนในบางเรื่องก็ไม่ใช่ว่าจะมีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือล้มเหลวขององค์การ ต้องพิจารณาดูดี ๆ เช่นกัน ปัจจัยภายนอกองค์การ O: Opportunity หมายถึง โอกาสหรือสิ่งที่องค์การได้เปรียบคู่แข่ง ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอก เช่น น้ำมันมีราคาแพงในขณะที่องค์การของเราไม่ได้ใช้น้ำมันมากนักในการผลิตสินค้า/บริการ หรือการมีเครือข่ายองค์กรต้นแบบที่เข้มแข็งอยู่ไม่ไกลจากชุมชนทำให้เห็นเป็นตัวอย่าง การมีองค์การภาคเอกชนไม่แสวงหากำไรเข้ามาพัฒนาในชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้องค์การหรือชุมชน ควรจะได้พิจารณาโอกาสสำคัญในเรื่องสิ่งน่าประทับใจ และโอกาสของการประสบความสำเร็จขององค์การหรือชุมชนเป็นสำคัญ
T: Threat หมายถึง อุปสรรคจากภายนอกที่จะคอบขัดขวางการพัฒนาขององค์การหรือชุมชน เช่น การเปลี่ยนแปลงวิธีการเลือกตั้ง ส.อบต. เป็นแบบรวมเขต (แล้วแต่มุมมองหรือสถานการณ์จริงในแต่ละพื้นที่) การยกเลิก กำนัน/ผู้ใหญ่บ้านในเขตเทศบาล สถานการณ์ความขัดแย้งในพื้นที่... ที่กำลังเกิดขึ้น และพื้นที่/ชุมชนเรามีบริบทที่คล้าย ๆ กัน เป็นต้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อเป้าประสงค์ขององค์การ ทั้งนี้ควรพิจารณาอุปสรรคในด้านของความรุนแรงและอุปสรรคที่อาจจะเกิดขึ้นโดยตรงกับองค์การ/ชุมชนนั้น ๆ ด้วย