วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การบ้านครั้งที่ 2

ระบบสารสนเทศในงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
1.ความหมายและวัตถุประสงค์ของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้าความหมาย สินค้าคงคลัง เป็นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องมีเพื่อการดำเนิน งาน และมีสภาพคล่องสามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ไม่ลำบาก เช่น สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบเพื่อการผลิตงานระหว่างทำ ขึ้นอยู่กับประเภทของธุรกิจ การจัดหาสินค้าคงคลัง สามารถทำได้ 2 วิธีวิธีที่

1 สั่งผลิตหรือจัดซื้อมาจะทำได้กับธุรกิจที่ช่วงระยะเวลาส่งของให้ลูกค้านานพอที่จะไปดำเนินการจัดซื้อหรือผลิตได้วิธีที่
2 วางแผนจัดหาสินค้าคงคลังโดยพิจารณา จากค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเป็นการวางแผนจัดเตรียมสินค้าคลังไว้ล่วงหน้าวัตถุประสงค์1. เพื่อให้การทำงานมีความยืดหยุ่น ดำเนินไปได้อย่างราบรื่น2. เพื่อให้เกิดการประหยัดค่าใช้จ่าย
1 ความหมายและวัตถุประสงค์ของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า
1.งานสินค้าคงคลัง ( Inventory )หมายถึง กระบวนการบริหารและควบคุมสินค้าที่สำรองไว้ให้มีปริมาณและมูลค่าที่เหมาะสม เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในธุรกิจ# มีจุดประสงค์หลักที่จะสำรองสินค้าอย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ เพื่อให้มีสินค้าเพียงพอเสมอ สำหรับการเบิกจ่ายโดยปราศจากการขาดมือของสินค้า# มีเป้าหมายที่จะใช้ต้นทุนน้อยที่สุด ในการสำรองสินค้าและการดำเนินงานหากให้ ผลกำไรที่สูงสุดแก่ธุรกิจขององค์กร
2.งานคลังสินค้า (Warehousing) คือ กระบวนการเก็บ หยิบ ส่งสินค้า มีจุดประสงค์หลักที่จะบริหารและดำเนินธุรกิจในส่วนเกี่ยวข้องกับคลังสินค้าอย่างเป็นระบบ
3.คลังสินค้า( Warehouse) คือ สถานที่ใช้เก็บสินค้าที่ผลิตออกมา/สำรองสินค้าที่ยังไม่ถึงเวลาที่จะนำไปขาย/เบิกจ่ายหรือสำรองสินค้าไว้และเป็นจุดพักสินค้าระหว่างผู้ผลิตและผู้ค้าส่ง (wholesale) หรือผู้ค้าปลีก (Retail outlets) แล้วแต่ละกรณีหรือบางกรณีก็สามารถใช้คำว่า ศูนย์กระจายสินค้า (Distribution center) แทนคลังสินค้ามีองประกอบสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจคลังสินค้า
1. โครงสร้างทางวิศวกรรมของอาคารสถานที่
2. อุปกรณ์ที่จำเป็น
3. บุคลากร
4. การขนส่งสินค้า
5. ระบบการส่งต่อเอกสารและการบันทึกบัญชีประจำวันประเภทของคลังสินค้า ตามลักษณะการครอบครองคลังสินค้าเอกชน Private Warehouse เป็นทรัพย์สินขององค์กรเจ้าของสินค้า Owner ซึ่งบริหารและการดำเนินการเองทั้งหมด เก็บเฉพาะสินค้าที่ต้องการคลังสินค้าสาธารณะ Public Warehouse เป็นคลังสินค้าที่ผู้ประกอบการทำธุรกิจรับดำเนินการติดตั้งระบบการ คลังสินค้าให้กับหลายองค์กรมาใช้บริการ2 องค์ประกอบของงานสินค้าคงคลังและคลังสินค้า มี 5 องค์ประกอบหลัก คือ
1. สินค้าคงคลัง (Inventory Item)
2. ระดับที่เหมาะสมของสินค้าคงคลัง (Inventory Level)
3. จุดสั่งใหม่ (Reorder Point)
4. สินค้าทดแทน (Substituted Item)
5. สินค้าส่งคืน (Returned/reject Item)1. สินค้าคงคลัง (Inventory Item) คือ สินค้าที่องค์กรเก็บสำรองไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในเชิงธุรกิจ แบ่งได้ 3 ประเภท1. )วัตถุดิบที่ใช้ป้อนกระบวนการผลิต (Raw goods)2. )สินค้าคงคลังระหว่างกระบวนการผลิต (Work in Process /WIP)3. )สินค้าคงคลังสำเร็จรูป (Finished Inventories)2. ระดับที่เหมาะสมของสินค้าคงคลัง (Inventory Level) คือ ปริมาณสินค้าคงคลังที่พอเหมาะกับกิจการขององค์กรโดยใช้ต้นทุนและปราศจากเหตุการณ์สินค้าไม่เพียงพอการเบิกจ่าย3. จุดสั่งใหม่ มี 3 ประเภท คือ3.1 ระบบปริมาณสั่งซื้อที่ประหยัด(Economic Order Quantity System : EOQ)3.2 ระบบรอบเวลาสั่งซื้อที่คงที่ (Fixed Interval System)3.3 ระบบจัสท์อินไทม์ (Just In Time : JIT)องค์ประกอบหลักของงานคลังสินค้า แบ่งเป็น 3 ส่วนหลัก คือ1.) โครงสร้างของคลังสินค้า ( Warehouse Configuration)2.) เจ้าของสินค้า และ ผู้รับสินค้า (Owner)3. )สินค้า (Product) เช่น กลุ่ม (Group) และ กลุ่มย่อย (Sub-group) หน่วยนับ (Unit of Measurement : UOM )3 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง1.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้1.2 เตรียมเครื่องใช้สำนักงานที่เกี่ยวข้อง1.3 ข้อมูลทั่วไปในการสร้างแฟ้มข้อมูลหลัก1.4 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง1.5 วางแผนกระทำการติดตั้งระบบ1.6 กำหนดแผนการใช้งานคู่ขนาน2. การติดตั้งระบบสารสนเทศสินค้าคงคลัง2.1 ระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่จะใช้2.2 สร้างแฟ้มข้อมูลหลัก2.3 บันทึกยอดยกมาของสินค้าแต่ละชนิด4 การติดตั้งและการดำเนินงานระบบสารสนเทศคลังสินค้า1. การเตรียมการติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า
1.1 คลังสินค้า
1.2 เจ้าของสินค้า
1.3 สถานที่จัดส่ง
1.4 สินค้า
1.5 บุคลากรที่เกี่ยวข้อง
1.6 วางแผนโครงการติดตั้งระบบ
1.7 ยอดยกมาของสินค้าคงเหลือ
2. การติดตั้งระบบสารสนเทศคลังสินค้า ลักษณะเดียวกับสินค้าคงคลัง5 การนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาช่วยในการบริหารระบบสารสนเทศ
1. เพื่อคุณภาพและความถูกต้องของการดำเนินการ
2. ลดเวลาในการดำเนินงาน
3. ลดค่าใช้จ่ายในการทำงานนอกเวลา
4. เพิ่มความสะดวกในการดำเนินงาน
5. เพิ่มภาพพจน์ที่ดีให้แก่องค์กร
5.1 การเลือกใช้โปรแกรมและผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ในระบบงานการเลือกใช้โปรแกรม
1. ความจำเป็นขององค์กร
2. งบประมาณ
3. ความสอดคล้องกับโครงสร้าง
4. การตอบสนองความต้องการของฝ่ายนโยบายและบริหารผลกระทบของการใช้คอมพิวเตอร์ในระบบงาน
1. ผลกระทบด้านธุรกิจขององค์กร
2. ผลกระทบด้านการส่งผ่านข้อมูล
3. ผลกระทบด้านการดำเนินงาน
4. ผลการทบด้านเครื่องมือเครื่องใช้สำนักงาน
5. ผลกระทบด้านงบประมาณ6. ผลกระทบด้านองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น: